ประกัน รถ

รู้หรือไม่ ฝุ่นที่เกิดจากยางและผ้าเบรก อันตรายกว่าไอเสียรถยนต์นับพันเท่า

ขณะที่โควิดยังไม่จางหายไปดี ตอนนี้ไทยเราก็เกิดปัญหาเรื่องฝุ่น PM 2.5 กลับมากระหน่ำซ้ำเติมอีก แน่นอนว่าสาเหตุส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้รถของพวกเราทุกคนนี่เองที่ทำให้เกิดฝุ่น ทั้งฝุ่นควันจากท่อไอเสีย  ฝุ่นที่เกิดจากยางและผ้าเบรก ซึ่งฝุ่นที่เกิดจากยางและผ้าเบรกนั้นหลายคนอาจจะไม่รู้เลยว่า มีความอันตรายและสร้างปัญหาสุขภาพให้กับเรารุนแรงเสียกว่าไอเสียรถยนต์เสียอีก

รถปล่อยควัน

ทุกวันนี้ค่าใช้จ่ายทั้งค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าประกันรถ และอื่น ๆ เราก็แทบแย่กันอยู่แล้ว นี่ถ้าต้องมีค่าประกันสุขภาพเพื่อดูแลตัวเองจากฝุ่นพิษเหล่านี้อีกก็คงไม่ไหวแน่ ๆ ลองมาดูอันตรายที่มาจากฝุ่นยางและผ้าเบรกกันดีกว่าว่าน่ากลัวขนาดไหน เผื่อจะทำให้เราเปลี่ยนใจลดใช้รถยนต์กันลงบ้าง

ต้นเหตุของฝุ่นละออง

อย่างที่เราทราบกันว่า ต้นเหตุของฝุ่น PM 2.5 นั้นมาจากหลายแหล่ง ทั้งการเผาชีวมวลต่าง ๆ โรงงานอุตสาหกรรมไฟฟ้า แต่หลัก ๆ ที่ทำให้เกิดมลพิษมากในเมืองกรุงก็คือ มาจากรถยนต์ ทั้งในส่วนของไอเสียรถยนต์ ฝุ่นจากยางและผ้าเบรกรถยนต์

มีงานศึกษาวิจัยจากต่างประเทศพบว่าปัญหาฝุ่นพิษที่เราเผชิญอยู่นี้อันตรายกว่าที่เราคิด โดยเฉพาะฝุ่นที่เกิดจากการเสียดสีของยางรถยนต์ และการใช้ผ้าเบรกรถเวลาเราเหยียบเบรก ฝุ่นละอองที่มาจากสองสิ่งนี้ทางวิชาการจัดว่าเป็นมลพิษประเภท Non-exhaust emissions หรือมลพิษจากรถยนต์ที่ไม่ได้มาจากไอเสียของรถยนต์

ฝุ่นจากยางและผ้าเบรก อันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก

ที่ประเทศอังกฤษได้มีการนำฝุ่นจากยางและผ้าเบรกมาศึกษาถึงอันตรายต่อสุขภาพผู้คน ก็พบว่าฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของยางและผ้าเบรกนั้นจะประกอบไปด้วย 2 ส่วนนั่นคือ

  • ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ปริมาณ 60%
  • ฝุ่น PM 10 ปริมาณ 40%

เมื่อนำฝุ่นทั้งสอง 2 มาวิเคราะห์อีกครั้งก็พบว่าฝุ่นที่มาจากยางและผ้าเบรก ก่อปัญหาสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าไอเสียที่มาจากรถยนต์ถึง 1,000 เท่าเลยทีเดียว

รถยนต์ทุกชนิดก็ปัญหามลพิษด้วยกันทั้งนั้น

การศึกษาวิจัยในเรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ ทดสอบโดยใช้รถ Hatchback 5 ประตูรุ่นใหม่จากศูนย์ เติมลมยางตามมาตรฐานโรงงาน และนำรถออกวิ่ง ผลการทดสอบปรากฏว่า ในทุก 1 กิโลเมตรที่รถวิ่งไป รถจากสร้างฝุ่นจากยางและผ้าเบรกถึง 5.8 กรัม ซึ่งเมื่อมาเทียบเคียงกับฝุ่นจากไอเสียรถยนต์กลับกลายเป็นว่า ฝุ่นจากไอเสียรถเกิดขึ้นในปริมาณที่น้อยกว่า ขึ้นเกิดขึ้น 4.5 กรัมต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร

hatchback-honda

การทดลองยังดำเนินไปอีก โดยที่ให้รถเติมลมยางน้อยลง และลองวิ่งอีกครั้งผลปรากฏว่าปริมาณฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมพอสมควร การทดสอบนี้สะท้อนว่า ไม่เพียงรถยนต์เครื่องสันดาปเท่านั้นที่สร้างมลพิษทางอากาศ แต่รถยนต์ทุกชนิด ทั้งรถไฮบริดและรถยนต์ไฟฟ้า ก็ยังมีส่วนต่อการสร้างฝุ่นพิษขึ้นด้วยเช่นกัน เพราะรถยนต์ทุกแบบก็ยังต้องใช้ยางและผ้าเบรกอยู่เหมือนเดิมนั่นเอง

สิ่งที่เรียนรู้ได้จากการทดลองนี้ก็คือ การเติมลมยางให้เหมาะสมนั้นมีส่วนต่อปริมาณของฝุ่นพิษ ในขณะเดียวกันก็ส่งผลต่อระบบการขับขี่ เครื่องยนต์ของรถยนต์และความปลอดภัยด้วย หลาย ๆ ครั้งอุบัติเหตุเกิดขึ้นจนต้องมีการขอเคลมประกันรถก็เพราะเราลืมตรวจสอบดูแลยางรถให้พร้อมใช้งาน การดูแลในส่วนนี้จึงมองข้ามไม่ได้อีกต่อไป

เติมลมยาง

คงได้ทราบถึงอันตรายของฝุ่นที่เกิดจากยางและผ้าเบรกกันไปแล้ว ก็คงต้องกลับมาพิจารณาตั้งคำถามกันแล้วว่า ถึงเวลาหรือยังที่เราควรลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวลงบ้าง การลดการใช้รถยนต์ไม่เพียงดีต่อสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ยังดีต่อสุขภาพของเรา ช่วยเราประหยัดได้มาก เมื่อใช้รถน้อยลง ประกัน รถก็ไม่ต้องจ่ายแพง ประหยัดค่าน้ำมันได้ด้วย เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เราทุกคนควรจะต้องนำไปคิดกันดู